วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี และตัวอย่าง
โปรแกรมในภาษาซีทุกโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย
  1. Function Heading
    ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ
  2. Variable Declaration
    ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number
  3. Compound Statements
    ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้ ซึ่งนักศึกษาจะได้เห็นต่อไป
ข้างล่างนี้คือตัวอย่างโปรแกรมง่ายๆ ในภาษาซี
โปรแกรมที่ 1: Hello
#include <stdio.h>
main()
{
    printf(" Hello. This is my first program. \n") ;       /*  This is  a comment  */
    return 0 ;
}

บรรทัดแรกนั้นเราเรียก Compiler Directives คือเป็นคำสั่งที่บอก compiler ว่ามีไฟล์อะไรที่จำเป็นต่อการ compile บ้าง ซึ่งในที่นี้ เราต้องการไฟล์ที่ชื่อ "stdio.h" ซึ่งทำหน้าที่เรียกใช้งาน Standard I/O Library ซึ่งฟังก์ชันที่เราเรียกใช้งานในโปรแกรมข้างบนคือ printf นั่นเอง
บรรทัดต่อมาบอกว่าโปรแกรมนี้มีฟังก์ชัน main โดยไม่ต้องการ argument ใดๆ โดย compound statement ถูกบรรจุในวงเล็บปีกกา { ...... }
บรรทัดต่อมามีการเรียกใช้ฟังก์ชัน printf จาก Standard I/O Library โดย argument ของฟังก์ชันนี้ก็คือประโยค " Hello. This is my first program." นักศึกษาสังเกตว่ามีชุดอักขระ \n ซึ่งเป็นชุดอักขระพิเศษหมายถึงการขึ้นบรรทัดใหม่
นี่คือชุดอักขระพิเศษต่างๆ และ ความหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น